การพัฒนารูปแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่งบนเครือข่ายทางสังคม เรื่องการอินทิเกรต วิชาคณิตศาสตร์สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี

Published date
2009
Resource type
Publisher
ISBN
ISSN
DOI
Call no.
Other identifier(s)
Edition
Copyrighted date
Language
tha
File type
application/pdf
Extent
9 หน้า
Other title(s)
Advisor
Other Contributor(s)
Citation
วารสารการวิจัยกาสะลองคำ 7.2 ก.ค.-ธ.ค.2552 หน้า 167-176
Degree name
Degree level
Degree discipline
Degree department
Degree grantor
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนารูปแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่งบนเครือข่ายทางสังคม เรื่องการอินทิเกรด วิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรีให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น (3) ศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนของนักศึกษาที่เรียนตามรูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นกับการเรียนจากการสอนตามปกติ (4) ศึกษาความคงทนในการจำเมื่อเรียนจากรูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นผ่านมาแล้ว 1 เดือน และ 2 เดือน และ (5) ศึกษาเจตคติของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น ประชากร คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี 2-3 ปี วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 700 คน กลุ่มพัฒนาเครื่องมือ เลือกมาแบบเจาะจง จำนวน 48 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มพัฒนาเครื่องมือแบบรายบุคคลจำนวน 3 คน 2) กลุ่มพัฒนาเครื่องมือแบบกลุ่มย่อยจำนวน 15 คน และ 3) กลุ่มพัฒนาหาประสิทธิภาพของเครื่องมือจำนวน 30 คน ส่วนกลุ่มตัวอย่างเพื่อใช้ในการทดลอง เลือกมาแบบเจาะจงจำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) บทเรียนอีเลิร์นนิ่งบนเครือข่ายทางสังคมเรื่องการอินทิเกรตวิชาคณิตศาสตร์ (2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ เป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก มีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ 0.83 ค่าความยากง่ายเฉลี่ยทั้งฉบับ เท่ากับ 0.77 ค่าอำนาจนำแนก เท่ากับ 0.63 (3) แบบฝึกหัดระหว่างเรียน (4) แบบประเมินคุณภาพเนื้อหาอีเลิร์นนิ่ง (5) แบบประเมินคุณภาพการใช้อีเลิร์นนิ่ง และ (6) แบบวัดเจตคติ สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานได้แก่ t-test โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ปรากฏผลการวิจัยดังต่อไปนี้ 1. รูปแบบสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบอีเลิร์นนิ่งบนเครือข่ายทางสังคม เรื่องการอินทิเกรตวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.73/84.88 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2. ดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนที่พัฒนาขึ้นมีค่าเท่ากับ 0.72 3. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากรูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นกับการเรียนปกติทดสอบด้วยสถิติ t-test พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากรูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นสูงกว่าการเรียนปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4. ความคงทนในการจำหลังเรียนจากรูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นผ่านมาแล้ว 1 เดือน และ 2 เดือน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 5. เจตคติที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีค่าเป็นบวก (3.98) ซึ่งหมายความว่า นักศึกษาชอบเรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น
The purposes of this quasi experimental research were : (1) to develop an e-Leaming environment model via social network on integration in mathematics for undergraduates based on 80/80 efficiency criteria ; (2) to examine the effective index of the developed e-Leaming model ; (3) to compare achievements. between undergraduates who studied from the developed e-Learning model and the traditional method ; (4) to study retention after completed course from the developed e-Learning model for one month and two months ; and (5) to study undergraduates' attitudes towards the developed e-Leaming model. The population was 700 undergraduates who were studying in the second semester of 2011 at King Mongkut's University of Technology North Bangkok, College of Industrial Technology, Bachelor's Degree Program 2-3 years. The samples for a model development consisted of 48 undergraduates who were derived from a purposive selection method. They were divided into three groups : (1) an individual model development group included 3 participants ; (2) a subclass model development group included 15 participants ; and (3) an efficiency examination of model development group included 30 participants. The samples for trial the developed model consisted of 60 undergraduates who were derived from purposive selection method. They were divided into two groups : an experimental group and a control group which included 30 undergraduates in each group. The research instruments were (1) an e-Leaming courseware via social network on integration in mathematics for undergraduates ; (2) an achievement Lest which included 30 items of 4-option-multiple-choice that the reliability of a whole test was 0.83, an average of difficulty level (p) was 0.77 and an average of discriminate power (r) was 0.63 ; 3) the exercises during study ; (4) a quality appraisal of courseware content ; and (5) a quality appraisal of e-Leaming usability. The statistic used for hypothesis testing was t-test with statistical significance set at the 0.05 level. The research results were as follows ; 1. The developed e-Leaming environment model via social network on integration in mathematics for undergraduates achieved the efficiency at 84.73/84.88, as conditioned criteria ; 2. The developed e-Leaming model achieved rhe effectiveness index at 0.72 ; 3. The comparison of achievements between undergraduates who studied from the developed e-Leaming model and traditional classroom using I-test found that achievements earned from developed e-Leaming model was higher than achievements earned from traditional class statistically significant at the 0.05 level ; 4. The retention after completed course from the developed e-Leaming model for one month and two months was statistically significant different at the 0.05 level ; 5. The attitude towards the developed e-Leaming model was positive (3.98) which mean undergraduates prefer to study in the developed e-Leaming model.
Table of contents
Description
punsarn.dc.description.sponsorship
Spatial Coverage
Subject(s)
Rights
Access rights
Rights holder(s)
Location
View External Resources
Collections