วารสารนิติศาสตร์: ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2559)

Permanent URI for this collection

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 2 of 2
  • Item
    แนวทางการปฏิรูปกฎหมายบริษัทเอกชนจำกัดเพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นประเทศเศรษฐกิจพัฒนา
    (มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, 2559) เสถียรภาพ นาหลวง
    บทความนี้เป็นผลของการศึกษาปัยหาแนวทางการปฏิรูปกฎหมายบริษัทเอกชนจำกัดของประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบระบบบริษัทเอกชนจำกัดที่จะสามารถเป็นเครื่องมือส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยให้มีความก้าวหน้าทัดเทียมกับประเทศเศรษฐกิจพัฒนา เพราะกฎหมายบริษัทจำกัดในปัจจุบันยังไม่สามารถเป็นเครื่องมือส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจยุคใหม่ การศึกาษาได้ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพร่วมกับการสัมภาษณ์ในเชิงลึก โดยใช้ทฤษฎีกฎหมายเปรียบเทียบและทฤษฎีบริษัทปิดเป็นฐานในการวิเคราะห์ปัญหาและผลการศึกษา ผลการศึกษาได้ค้นพบทฤษฎีรูปแบบบริษัทเอกชนจำกัด และทฤษฎีระดับการปฏิรูปกฎหมายบริษัทเอกชนจำกัด โดยทฤษฎีรูปแบบบริษัทบ่งชี้ว่ารูปแบบธุรกิจมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบบริษัทและทำให้เกิดบริษัทเอกชนจำกัดรูปแบบใหม่ การมีรูปแบบบริษัทที่หลากหลายสามารถดึงดูดให้มีการก่อตั้งธุรกิจในรูปของบริษัทเอกชนจำกัดได้ดีกว่าการใช้ปฏิบัติบริษัทเอกชนจำกัดรูปแบบเดียว และทฤษฎีระดับการปฏิรูปกฎหมายบริษัทบ่งชี้ว่าการปฏิรูปกฎหมายบริษัทเอกชนจำกัดมีสามระดับ คือ ระดับอ่อน ระดับแข็ง และระดับสุดขั้ว ซึ่งมีผลต่อการก่อให้เกิดการพัฒนารูปแบบบริษัทเอกชนจำกัดที่หลากหลาย บนพื้นฐานของทฤษฎีการปฏิรูปกฎหมายบริษัทสามระดับ ดุษฎีนิพนธ์มีข้อเสนอแนะว่าควรปฏิรูปกฎหมายบริษัทเอกชนจำกัดทั้งระบบเพื่อรับเอารูปแบบกฎหมายที่หลากหลายเพื่อเป็นทางเลือกของผู้ประกอบธุรกิจ โดยแยกหลักเกณฑ์บริษัทธุรกิจออกจากกฎหมายบริษัทผู้ประกอกการทั้งนี้ บริษัททั้งสองรูปแบบควรมีโครงสร้างผู้ถือหุ้นสองขนาด คือ บริษัทที่ก่อตั้งและมีผู้ถือหุ้นหลายคนที่มีบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลเป็นผู้ถือหุ้น และบริษัทที่ก่อตั้งและมีผู้ถือหุ้นเพียงคนเดียวที่มีบุคคลธรรมดาเป็นผู้ถือหุ้น
  • Item
    แนวคิดเกี่ยวกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภาไทยในรอบทศวรรษ
    (มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, 2559) ภูมิ มูลศิลป์
    การที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ได้กำหนดให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญต้องจัดทำร่างรัฐธรรมนูญให้ครอบคลุมเรื่องการให้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่เหมาะสมกับสภาพสังคมของไทยไว้ จึงสมควรได้ทบทวนแนวคิดเกี่ยวกับการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาของไทยโดยผู้เขียนจะคัดเลือกมาเฉพาะบาเหตุการณ์ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งโดยแท้ที่จริงแล้ว หากเราสามารถตอบได้ว่าการมีวุฒิสภานั้นเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ใด จะทำให้การกำหนดขอบอำนาจหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภาชัดเจนขึ้น และนำไปสู่คำตอบว่า กระบวนการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาที่เหมาะสมควรเป็นเช่นใด