การไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทก่อนฟ้องตามระเบียบของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

Published date
2560
Resource type
Publisher
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
ISBN
ISSN
2228-9526
DOI
Call no.
Other identifier(s)
Edition
Copyrighted date
Language
tha
File type
application/pdf
Extent
22 หน้า
Other title(s)
Mediation and conciliation case before trial on the regulations of consumer protection committe
Advisor
Other Contributor(s)
Citation
วารสารนิติศาสตร์ 8, 1 (มกราคม - มิถุนายน 2560), 139-160
Degree name
Degree level
Degree discipline
Degree department
Degree grantor
Abstract
แม้ว่าจะมีการบังคับใช้ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคว่าด้วยหลักเกณฑ์การไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค พ.ศ. 2559 แต่ที่ผ่านมา ปริมาณคดีคุ้มครองผู้บริโภคตามสถิติการรับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภค ปีงบประมาณ 2559 และปีงบประมาณ 2560 ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เพราะหลักเกณฑ์ที่บังคับใช้นั้น อาจยังไม่จูงใจให้คู่กรณีบางรายเข้ามาไกล่เกลี่ย เช่น คดีหนี้บัตรเครดิต ที่มีการปรับโครงสร้า่งดอกเบี้ยให้แก่ลูกหนี้ตามข้อตกลงในการไกล่เกลี่ย แต่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ ทำให้เจ้าหนี้ต้องมาฟ้องตามมูลหนี้ใหม่ที่ลดลงไปจากเดิม เป็นต้น จากการศึกษาพบว่า มีปัญหาอยุ่ที่กระบวนการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาท อยู่สองข้อ คือข้อ(1) โครงสร้างและอำนาจหน้าที่ที่มีมากเกินไปของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จนทำให้การใช้อำนาจหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนีประนอมข้อพิพาทก่อนมีการฟ้องคดีต่อศาล ไม่ีมีประสิทธิภาพ และ ข้อ(2) ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคว่าด้วยหลักเกณฑ์การไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค พ.ศ. 2559 ไม่มีสภาพบังคับที่ชัดเจนและเด็ดขาด กล่าวคือ หากคู่กรณีไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงหรือสัญญาประนอมยอมความไม่มีผลบังคับกันทันทีตามข้อตกลงหรือสัญญาประนอมยอมความโดยไม่ต้องนำคดีไปฟ้องต่อศาลอีก ผู้เขียนจึงมีข้อเสนอในปัญหาข้อ(1) ว่า ควรมีการแต่งตั้งคณะทำงาน หรือ จัดตั้งคณะกรรมการไกล่เกลี่ยและประนีประนอมข้อพิพาทเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคก่อนมีการฟ้องคดีต่อศาล เพื่อทำหน้าที่แทนจะได้ช่วยแบ่งเบาภาระงานของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และ ปัญหาข้อ(2) คือระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคว่าด้วยหลักเกณฑ์การไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค พ.ศ. 2559 ข้อ 16 ขาดมาตรการบังคับให้เกิดผลทันทีหากไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงจึงมีข้อเสนอแนะว่า ควรบัญญัติกฎหมายกำหนดให้การไกล่เกลี่ยและประนีประนอมในศาลเพื่อจะได้มีมาตรการบังคับให้มีผลทันทีไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาลอีก
Even there is the enforcement of Rule of Consumer Protection Committee (Principle of Mediation and Conciliation for dispute on abuse of Consumer right B.E. 2559) ("The Rule 2559"). The number of Consumer Protection Case ("CP/Case") still keep continually increasing since B.E. 2559 to B.E. 2560 to handle with its CP Case. In reality, the Rule 2559 could not much motivate the Parties to join mediation process. For example, there announced the interest rate reconstruction policy in case of credit card debt however the debtor still not pay their agreed debts then this caused the creditor to sue the debtor. This study found two problems on the procedure of mediation and conciliation, (1) The structure and scope of power of CP committee which are not effective in reality and (2) No legal binding for an award of the Rule 2559. For Problem no.1, the author suggests to establish the working group or specific committee for mediation and conciliation before trial. For Problem no.2, I suggest to enact the rule on legal binding for an Award.
Table of contents
Description
punsarn.dc.description.sponsorship
Spatial Coverage
Rights
This work is protected by copyright. Reproduction or distribution of the work in any format is prohibited without written permission of the copyright owner.
Access rights
Rights holder(s)
Location
View External Resources