มาตรการทางกฎหมายเพื่อการบริหารจัดการให้มีจำนวนช้างป่าเอเชียที่เหมาะสมและทิศทางการเตรียมร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยอุทยานช้างแห่งชาติ

Published date
2560-02
Resource type
Publisher
กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
ISBN
ISSN
DOI
Call no.
ณ119ม 2560
Other identifier(s)
Edition
Copyrighted date
Language
tha
File type
application/pdf
Extent
199 หน้า
Other title(s)
LEGAL MEASURES FOR MANAGERIAL ADMINISTRATION TO ACHIEVE THE PROPER SIZE OF ASIAN ELEPHANTS POPULATION AND DIRECTIONS FOR PREPARETION OF A BILL ON THE NATIONAL WILD ELEPHENTS PARKS
Advisor
Other Contributor(s)
พิชัยศักดิ์ หรยางกูร
เดชา ศิริเจริญ
วิสิฐ ญาภิรัต
ประพฤติ ฉัตรประภาชัย
ธนสาร จองพานิช
รัฐสภา จุรีมาศ
Citation
Degree name
Degree level
Degree discipline
Degree department
Degree grantor
Abstract
สภาพปัญหาของช้างป่าที่มีจำนวนไม่สมดุลกับพื้นที่อยู่อาศัยเกิดจากปัญหาหลายประการเช่น การล่าช้าง พื้นที่ป่าถูกทำลาย แหล่งอาหาร และแหล่งน้ำลดลง ความขัดแย้งระหว่างคนและช้าง ความไม่เหมาะสมของประชากรช้างป่าในพื้นที่อนุรักษ์ การขยายพันธุ์ พันธุกรรมช้าง การสวมทะเบียนตั๋วรูปพรรณและการตีทะเบียนช้าง และการขาดการจัดการ ซึ่งประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ที่เป็นถิ่นกำเนิดของช้างมีวิธีการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยใช้มาตรการทางกฎหมาย และมาตการทางการบริหารจัดการพื้นที่อยู่อาศัยของช้างป่าควบคู่กันไป มาตการการบริหารจัดการช้างป่าในประเทศไทยและประเทศถิ่นกำเนิดอื่นๆ จะคล้ายกันกล่าวคือ มีการปรับปรุงแหล่งที่อยู่อาศัยในพื้นที่ป่าโดยการสร้างและปรับปรุงแหล่งน้ำ แหล่งอาหาร เช่น การปลูกพืชอาหารของสัตว์ป่า การทำโป่งเทียม ส่วนวิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าจะใช้เทคนิคการป้องกันแบบใช้สิ่งกีดขวาง โดยการขุดคูกันช้างป่าสร้างกำแพงหินทำแนวรั้วธรรมดา ทำรั้วไฟฟ้า ทำรั้วพริก การปลูกพืชเป็นแนวกันชน การสร้างหอเฝ้าระวัง การทำสัญญาณเตือนภัย และการทำรั้วรังผึ้ง และยังใช้เทคนิคการป้องกันแบบการขับไล่โดยการใช้คนในการขับไล่ช้าง ด้วยวิธีการทำให้เกิดเสียงดัง และการใช้แสงไฟ การขว้างปาหินหรือสิ่งของใส่ช้าง การใช้พาหนะขับไล่ การเคลื่อนย้ายช้างออกจากพื้นที่มีปัญหา รวมทั้งการจ่ายค่าชดเชยความเสียหาย เป็นต้น จากการวิเคราะห์วิธีการแก้ปัญหาจำนวนช้างป่าที่ไม่สมดุลกับพื้นที่อยู่อาศัยในประเทศไทยเปรียบเทียบกับต่างประเทศ พบว่าประเทศไทยยังขาดกฎหมายเฉพาะในการกำหนดพื้นที่ป่าธรรมชาติผืนใหญ่เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยของช้างป่า ดังนั้น ผู้วิจัยจึงเสนอให้มีการเตรียมร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยอุทยานช้างป่าแห่งชาติ โดยให้คณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดพื้นที่ในกลุ่มป่าตะวันออก หรือ "ป่ารอยต่อห้าจังหวัด" เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีอาณาเขตอยู่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา สระแก้ว จันทบุรี ระยอง และชลบุรี โดยมีพื้นที่ป่าอนุรักษ์รวมกันทั้งสิ้น 2,453 ตารางกิโลเมตร โดยมีช้างป่าทั้งหมดประมาณ 400-500 ตัว ซึ่งครอบคลุมเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติ 6 แห่ง ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอ่างฤาไน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองเครือหวายเฉลิมพระเกียรติ อุทยานแห่งชาติเขาสิบห้าชั้น อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกุฏ และอุทยานแห่งชาติเขาชะเมา และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติอีกจำนวนหนึ่ง โดยจะเป็นพื้นที่นำร่องของแลุ่มป่าอีก 6 กลุ่มป่า ได้แก่ กลุ่มป่าแก่งกระจาน กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ กลุ่มป่าภูเขียวน้ำหนาว กลุ่มป่าคลองแสง-เขาสก และกลุ่มป่าภาคเหนือซึ่งมีช้างป่าอาศัยอยู่เนื่องจากกลุ่มป่าตะวันออกเกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่ามากที่สุด โดยเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 มาจนถึงปัจจุบัน เพราะราษฎรส่วนใหญ่ในกลุ่มป่าภาคตะวันออกมีทัศนคติเชิงบวกต่อช้างป่า ไม่คิดทำร้ายช้าง และยังเห็นว่าช้างเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมือง และช้างเรียนรู้ว่าคนเป็นมิตรและไม่เป็นอันตราย การมีอุทยานช้างป่าแห่งชาติในประเทศไทยจะเป็นมาตรการในการแก้ปัญหาช้างป่าให้มีจำนวนสมดุลกับพื้นที่อยู่อาศัยในป่าธรรมชาติิอีกวิธีหนึ่งที่มีประสิทธิภาพ เพื่อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เอื้อต่อการดำรงชีวิตของช้าง และการทำเกษตรกรรมของราษฎร และเพื่อยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าชนิดอื่นๆ อีกทั้งยังเป็นแหล่งขยายพันธุ์ของช้างป่าและสัตว์ป่าอื่นๆ ตลอดจนสามารถบรรเทาปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าได้อย่างยั่งยืน
Situations and problems arising from numbers of wild elephants which are imbalance for the space of habitats are caused by several problems, for example, elephant poaching, destroying of forest area, decreasing of food and water sources, conflicts between men and elephants, unsuitableness population of wild elephants in conservation areas, reproduction and genetics, falsification of elephant identification registration and problems on lack of management .Thailand and foreign countries have the solutions for such problems by both exercising legal measures and management measures for habitats of wild elephants. Regarding the measures on managing wild elephants, Thailand and other countries of origins share things in common . Such measures include improvement on habitats in forest areas by constructing and enhancing water sources and food sources such as growing plants as food for wild animals and making salt marsh .Conflict between men and wild elephants is resolved by using barrier protection which includes ditching to prevent wild elephants, building stone walls, hedges and electric fences, hedging with chilli, growing plants as buffer, building watchtowers, setting up alarm system, building honeycomb fences . Using technic of evicting prevention which includes using manpower to evict elephants by making loud noise, using light, hurling stones or other materials to elephants, using vehicles to chase elephants relocating elephants away from problematic areas and paying compensation for damage. From the analysis on solutions for numbers of wild elephants which are imbalance to habitats in Thailand comparing with those of foreign countries, the researchers found that Thailand still lacks the laws that designate wide natural forestry areas to be the habitats for wild elephants . Therefore, the researchers hereby propose that there should be a preparation of the draft law on National Parks for Wild Elephant Act by urging the Council of Ministers to adopt a resolution to designate the area of eastern forest complex or "Five-Province Forests "as a national park for wild elephants located in Shashengsao, Srakaew, Chantaburi , Rayong and Chonburi .The whole area of conservation forest will be 2,453 sq. km. in total with a population of 400- 500 of wild elephants reside and cover 6 wildlife sanctuaries and national parks which are Khao Ang Rue Nai Wildlife Sanctuary, Khao Soi Dao Wildlife Sanctuary, Khlong Krea Wai Wildlife Sanctuary, Khao Sip Ha Chan National Park, Khao Khitchakoot National Park and Khao Chamao National Park and a ) number of national reserved forest areas . This shall be a pilot area of another 6 forest complexes which are Kaeng Krachan, Dong Phayayen-Khao Yai, Phu Khiao, Nam Nao, Khao Sok and forest complex in northern part which wild elephants reside. Problems on conflict between men and elephants occur in the eastern forest complex most of which began in 1995 and carry on until now because most of the citizens in the eastern forest complex have positive attitude toward wild elephants . They do not harm them and think that elephant is the symbolic animal of Thailand and the elephants have learned that men are friendly and unharmful. Having national parks for wild elephants in Thailand will be another effective measure to solve wild elephant problems and can set the numbers of wild elephants to be balance their natural forest habitats in order to designate the use of land to enhance facilitate living of elephants and agricultural activities of the citizens. It also can be the habitats for other wild animals and be the breeding areas of wild elephants and other wild animals. Having such national parks can sustainably mitigate the problems on conflict between men and wild elephants.
Table of contents
Description
บรรณานุกรมท้ายเล่ม.
punsarn.dc.description.sponsorship
Spatial Coverage
Subject(s)
Rights
This work is protected by copyright. Reproduction or distribution of the work in any format is prohibited without written permission of the copyright owner.
Access rights
Rights holder(s)
Location
4th Floor (Cathedral of Learning)
View External Resources
Collections