วารสารนิติศาสตร์: ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2561)

Permanent URI for this collection

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 4 of 4
  • Item
    โอกาสที่ประเทศไทยจะประยุกต์ใช้การระงับข้อพิพาทแบบผสม
    (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, 2561) ปถวี ศุขกิจ
    This article is an additional to the major contents of the doctoral thesis of the author which aims at the pros and cons of med-arb in international commercial arbitration. Mediation and arbitration are alternative dispute settlement mechanisms, which have slightly different characteristics, but they are used in combination in many countries around the world, including Canada, the United States, China, Hong Kong and other civil law jurisdictions and known as both “Med-Arb” and “Arb-Med”, depending on which process was initiated first. Med-Arb is one of the conflict resolution mechanisms in which both mediation and arbitration is combined. In the process of Med-Arb, the same third-party neutral plays both roles of mediator and arbitrator. If the parties choose to initiate the process using mediation and the dispute remains unresolved, it will then move to arbitration. Laws and regulations of Thai mediation and arbitration are also being currently discussed and there is no record of med- arb ever being used in Thailand. The purpose of this article is to lend one more voice to the debate about the way for Thailand looking to the future to collaborate on improving the arbitration process by drawing a picture of the formation of Med-Arb. The adoption of an alternative method of Med-Arb is proposed as a prospective solution that can help to improve the efficiency of alternative dispute resolution (ADR) in the context of Thai ADR. The preconception of the success or failure of Med-Arb in international commercial arbitration is also challenged in this article, along with the principle impartiality of behavior of arbitrators and mediators, the enforcement of arbitral awards, disputing parties and arbitral centers in cooperation with the Med-Arb model. This is followed by a discussion of the practical problems that arise from the application of Med-Arb in the context of Thai law. Some suggestions will be made for Thailand to apply Med-Arb and the way to set up future reform in order to step forward to become the center of international commercial arbitrations in the future.
  • Item
    การพัฒนากฎหมายทรัสต์ในประเทศไทย
    (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, 2561) แคทรีน สหชัยยันต์
    ภายใต้การควบคุมของกระทรวงการคลัง ตลาดเงินและตลาดทุนของไทยเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศมีความสัมพันธ์กับการพัฒนาของตลาดเงินและตลาดทุน กล่าวคือ ในประเทศที่มีระดับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูง มักพบว่ามีระบบโครงสร้างพื้นฐานทางด้านตลาดการเงินที่ตีควบคู่กัน หากพิจารณาบทบาทของตลาดทุนในการทำหน้าที่พัฒนาเศรษฐกิจและสนับสนุนการเติบโตของประเทศแล้ว ประเทศที่สามารถใช้ประโยชน์จากเครื่องมือทางการเงินรูปแบบต่าง ๆ ในตลาดทุนได้หลากหลาย มักจะมีข้อได้เปรียบของโอกาสในการประกอบธุรกิจและได้รับความสนใจจากผู้ระดมทุนหรือนักลงทุนทั้งในและนอกประเทศ ถือได้ว่าเครื่องมือทางการเงินในตลาดทุนช่วยเสริมสร้างสภาวะความคล่องตัวของธุรกิจ และสร้างความสมดุลทั้งด้านระบบการเงินและการพัฒนาตลาดทุนเพื่อช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ
  • Item
    ข้อบกพร่องสำคัญบางประการเกี่ยวกับร่างกฎหมายบริษัทจำกัดคนเดียว
    (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, 2561) พิชัยศักดิ์ หรยางกูร
    ร่างพระราชบัญญัติบริษัทคนเดี่ยวมีสาระสำคัญ มุ่งจำกัดความรับผิดของผู้ลงทุนคนเดียวในบริษัทให้มีแต่เพียงที่เขาได้ลงทุนไปในบริษัท ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้ผู้ลงทุนต้องล้มละลายตามกิจการของบริษัท แต่ร่างพระราชบัญญัติยังมีข้อบกพร่องสำคัญสองประการ คือ ประการที่หนึ่งการจำกัดให้ผู้ลงทุนต้องถือสัญชาติไทยและประการที่สองผู้ลงทุนคนเดียวในบริษัทโดยหลักแล้วก่อตั้งบริษัทคนเดียวได้เพียงบริษัทเดียว ข้อบกพร่องทั้งสองทำลายภาพลักษณ์ของประเทศในการสร้างความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ
  • Item
    การแก้ปัญหาการขัดกันของเขตอำนาจศาลในอาเซียน ด้วยความตกลงระหว่างประเทศโดยอาศัยหลัก forum non conveniens และ lis pendens Resolving Problems on Conflict of Jurisdictions Problems by International Agreement based on forum non conveniens and lis pendens Principles
    (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, 2561) อาทิตย์ ปิ่นปัก
    ฝ่ายโจทก์ในคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทที่เกิดจากสัญญาระหว่างประเทศสามารถที่จะเลือกฟ้องคดีในศาลของประเทศต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องพัวพันกับสัญญาดังกล่าวได้ตามกฎหมายว่าด้วยเขตอำนาจศาลของแต่ละประเทศ เหตุการณ์เช่นนี้ทำให้เกิดความไม่แน่นอนในการดำเนินคดีระหว่างประเทศ ทำให้มีความเสี่ยงเกิดขึ้นทำให้เกิดความซ้ำซ้อนในการพิจารณาคดี และปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการขัดกัยของเขตอำนาจศาล