Repository logo
  • English
  • ไทย
  • Log In
    New user? Click here to register. Have you forgotten your password?
external-link-logo
  • Communities & Collections
  • All of AU-IR
  1. Home
  2. Browse by Subject

Browsing by Subject "Conflict of Jurisdictions"

  • 0-9
  • A
  • B
  • C
  • D
  • E
  • F
  • G
  • H
  • I
  • J
  • K
  • L
  • M
  • N
  • O
  • P
  • Q
  • R
  • S
  • T
  • U
  • V
  • W
  • X
  • Y
  • Z

  • ก
  • ข
  • ฃ
  • ค
  • ฅ
  • ฆ
  • ง
  • จ
  • ฉ
  • ช
  • ซ
  • ฌ
  • ญ
  • ฎ
  • ฏ
  • ฐ
  • ฑ
  • ฒ
  • ณ
  • ด
  • ต
  • ถ
  • ท
  • ธ
  • น
  • บ
  • ป
  • ผ
  • ฝ
  • พ
  • ฟ
  • ภ
  • ม
  • ย
  • ร
  • ล
  • ว
  • ศ
  • ษ
  • ส
  • ห
  • ฬ
  • อ
  • ฮ
Results Per Page
Sort Options
  • Item
    การแก้ปัญหาการขัดกันของเขตอำนาจศาลในอาเซียน ด้วยความตกลงระหว่างประเทศโดยอาศัยหลัก forum non conveniens และ lis pendens Resolving Problems on Conflict of Jurisdictions Problems by International Agreement based on forum non conveniens and lis pendens Principles
    (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, 2561) อาทิตย์ ปิ่นปัก
    ฝ่ายโจทก์ในคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทที่เกิดจากสัญญาระหว่างประเทศสามารถที่จะเลือกฟ้องคดีในศาลของประเทศต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องพัวพันกับสัญญาดังกล่าวได้ตามกฎหมายว่าด้วยเขตอำนาจศาลของแต่ละประเทศ เหตุการณ์เช่นนี้ทำให้เกิดความไม่แน่นอนในการดำเนินคดีระหว่างประเทศ ทำให้มีความเสี่ยงเกิดขึ้นทำให้เกิดความซ้ำซ้อนในการพิจารณาคดี และปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการขัดกัยของเขตอำนาจศาล
  • Item
    การใช้หลัก forum non conveniens แก้ปัญหาการขัดกันของเขตอำนาจศาลในสกุลกฎหมาย
    (มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, 2560) อาทิตย์ ปิ่นปัก
    เมื่อประสบปัญหาการขัดกันของเขตอำนาจศาล สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศในสกุลกฎหมาย Common Law ได้ใช้หลัก forum non conveniens ในการแก้ปัญหาที่นิติสัมพันธ์อันใดอันหนึ่งสามารถตกอยู่ภายใต้เขตอำนาจรัฐของหลายประเทศ โดยมีหลัการที่สำคัญคือ ตัวชี้วัดความสะดวกและเหมาะสมในการพิจารณาคดีของศาลเป็นสำคัญ โดยศาลที่ได้รับคดีนั้นไว้อยู่จะเป็นผู้พิจารณาถึงความเหมาะสมดังกล่าว เพราะปัญหาการขัดกันของเขตอำนาจศาลอาจทำให้เกิดปัญหาสิ้นเปลืองทรัพยากรในกระบวนการยุติธรรม การดำเนินคดีซ้ำซ้อน การดำเนินคดีในศาลที่ไม่เหมาะสม และการขัดกันของผลแห่งคำพิพากษา เป็นอาทิ ในเรื่องดังกล่าว ศาลของสหราชอาณาจักรใช้มาตรฐานการพิสูจน์ให้ศาลเชื่อว่าศาลอื่นเป็นศาลที่มีเขตอำนาจเหนือคดีและเป็นศาลที่มีความเหมาะสมมากกว่าเมื่อพิจารณาถึงส่วนได้เสียของคู่ความทุกฝ่าย ส่วนศาลของสหรัฐอเมริกาใช้หลักที่ว่าศาลจะจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ หากศาลที่พิจารณาคดีอยู่นั้นเป็นสถานที่ีที่ไม่สะดวกอย่างยิ่งและมีศาลอื่นที่เป็นทางเลือกที่ดีกว่าให้ดำเนินคดีนั้นได้อยู่ ศาลสหรัฐฯ ได้แบ่งข้อพิจารณาเป็นสองส่วนหลักๆ คือ ก) ข้อพิจารณาเกี่ยวกับตัวคู่ความ เช่น การเข้าถึงการพิสูจน์พยานหลักฐานในคดี ค่าใช้จ่ายของตัวความหรือพยาน และ ข) ข้อพิจารณาเพื่อประโยชน์สาธารณะ เช่น การบังคับตามคำพิพากษา และปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย บทความนี้แบ่งออกเป็นสามส่วน โดยส่วนแรกจะกล่าวถึงนิยามและสภาพปัญหาของการขัดกันของเขตอำนาจศาล (Conflict of Court Jurisdiction) ในทางระหว่างประเทศว่ามีลักษณะอย่างไร และก่อให้เกิดข้อขัดข้องในการระงับข้อพิพาทอย่างไร ส่วนที่สองจะกล่าวถึงต้นกำเนิด ที่มาและพัฒนาการของทฤษฎี forum non conveniens (FNC) ตลอดจนการใช้หลักเกณฑ์ดังกล่าวแก้ไขปัญหาการขัดกันของเขตอำนาจศาลในสหราชอาณาจักรโดยเฉพาะอย่างยิ่งในคำพิพากษาของศาลของประเทศอังกฤษ และในส่วนที่สามจะกล่าวถึงการใช้ทฤษี forum non conveniens แก้ไขปัญหาการขัดกันของเขตอำนาจศาลในสหรัฐอเมริกาโดยดูจากคำพิพากษาทั้งในระดับ Circuit Court และคำพิพากษาของ US Supreme Court

Contact Us

St. Gabriel's Library (Hua Mak Campus)
592/3 Soi Ramkhamhaeng 24, Ramkhamhaeng Rd., Hua Mak, Bang Kapi, Bangkok 10240, Thailand

(662) 3004543-62 Ext. 3403

library@au.edu

The Cathedral of Learning Library (Suvarnabhumi Campus)
88 Moo 8 Bang Na-Trad Km. 26 Bang Sao Thong, Samut Prakan 10570, Thailand

(662) 7232024

library@au.edu

Website:  www.library.au.edu