Browsing by Subject "Consumer protection"
Results Per Page
Sort Options
-
Item
-
Item
-
Itemการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทก่อนฟ้องตามระเบียบของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคแม้ว่าจะมีการบังคับใช้ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคว่าด้วยหลักเกณฑ์การไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค พ.ศ. 2559 แต่ที่ผ่านมา ปริมาณคดีคุ้มครองผู้บริโภคตามสถิติการรับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภค ปีงบประมาณ 2559 และปีงบประมาณ 2560 ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เพราะหลักเกณฑ์ที่บังคับใช้นั้น อาจยังไม่จูงใจให้คู่กรณีบางรายเข้ามาไกล่เกลี่ย เช่น คดีหนี้บัตรเครดิต ที่มีการปรับโครงสร้า่งดอกเบี้ยให้แก่ลูกหนี้ตามข้อตกลงในการไกล่เกลี่ย แต่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ ทำให้เจ้าหนี้ต้องมาฟ้องตามมูลหนี้ใหม่ที่ลดลงไปจากเดิม เป็นต้น จากการศึกษาพบว่า มีปัญหาอยุ่ที่กระบวนการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาท อยู่สองข้อ คือข้อ(1) โครงสร้างและอำนาจหน้าที่ที่มีมากเกินไปของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จนทำให้การใช้อำนาจหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนีประนอมข้อพิพาทก่อนมีการฟ้องคดีต่อศาล ไม่ีมีประสิทธิภาพ และ ข้อ(2) ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคว่าด้วยหลักเกณฑ์การไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค พ.ศ. 2559 ไม่มีสภาพบังคับที่ชัดเจนและเด็ดขาด กล่าวคือ หากคู่กรณีไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงหรือสัญญาประนอมยอมความไม่มีผลบังคับกันทันทีตามข้อตกลงหรือสัญญาประนอมยอมความโดยไม่ต้องนำคดีไปฟ้องต่อศาลอีก ผู้เขียนจึงมีข้อเสนอในปัญหาข้อ(1) ว่า ควรมีการแต่งตั้งคณะทำงาน หรือ จัดตั้งคณะกรรมการไกล่เกลี่ยและประนีประนอมข้อพิพาทเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคก่อนมีการฟ้องคดีต่อศาล เพื่อทำหน้าที่แทนจะได้ช่วยแบ่งเบาภาระงานของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และ ปัญหาข้อ(2) คือระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคว่าด้วยหลักเกณฑ์การไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค พ.ศ. 2559 ข้อ 16 ขาดมาตรการบังคับให้เกิดผลทันทีหากไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงจึงมีข้อเสนอแนะว่า ควรบัญญัติกฎหมายกำหนดให้การไกล่เกลี่ยและประนีประนอมในศาลเพื่อจะได้มีมาตรการบังคับให้มีผลทันทีไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาลอีก