Repository logo
  • English
  • ไทย
  • Log In
    New user? Click here to register. Have you forgotten your password?
external-link-logo
  • Communities & Collections
  • All of AU-IR
  1. Home
  2. Browse by Subject

Browsing by Subject "Forum non conveniens"

  • 0-9
  • A
  • B
  • C
  • D
  • E
  • F
  • G
  • H
  • I
  • J
  • K
  • L
  • M
  • N
  • O
  • P
  • Q
  • R
  • S
  • T
  • U
  • V
  • W
  • X
  • Y
  • Z

  • ก
  • ข
  • ฃ
  • ค
  • ฅ
  • ฆ
  • ง
  • จ
  • ฉ
  • ช
  • ซ
  • ฌ
  • ญ
  • ฎ
  • ฏ
  • ฐ
  • ฑ
  • ฒ
  • ณ
  • ด
  • ต
  • ถ
  • ท
  • ธ
  • น
  • บ
  • ป
  • ผ
  • ฝ
  • พ
  • ฟ
  • ภ
  • ม
  • ย
  • ร
  • ล
  • ว
  • ศ
  • ษ
  • ส
  • ห
  • ฬ
  • อ
  • ฮ
Results Per Page
Sort Options
  • Item
    การใช้หลัก forum non conveniens แก้ปัญหาการขัดกันของเขตอำนาจศาลในสกุลกฎหมาย
    (มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, 2560) อาทิตย์ ปิ่นปัก
    เมื่อประสบปัญหาการขัดกันของเขตอำนาจศาล สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศในสกุลกฎหมาย Common Law ได้ใช้หลัก forum non conveniens ในการแก้ปัญหาที่นิติสัมพันธ์อันใดอันหนึ่งสามารถตกอยู่ภายใต้เขตอำนาจรัฐของหลายประเทศ โดยมีหลัการที่สำคัญคือ ตัวชี้วัดความสะดวกและเหมาะสมในการพิจารณาคดีของศาลเป็นสำคัญ โดยศาลที่ได้รับคดีนั้นไว้อยู่จะเป็นผู้พิจารณาถึงความเหมาะสมดังกล่าว เพราะปัญหาการขัดกันของเขตอำนาจศาลอาจทำให้เกิดปัญหาสิ้นเปลืองทรัพยากรในกระบวนการยุติธรรม การดำเนินคดีซ้ำซ้อน การดำเนินคดีในศาลที่ไม่เหมาะสม และการขัดกันของผลแห่งคำพิพากษา เป็นอาทิ ในเรื่องดังกล่าว ศาลของสหราชอาณาจักรใช้มาตรฐานการพิสูจน์ให้ศาลเชื่อว่าศาลอื่นเป็นศาลที่มีเขตอำนาจเหนือคดีและเป็นศาลที่มีความเหมาะสมมากกว่าเมื่อพิจารณาถึงส่วนได้เสียของคู่ความทุกฝ่าย ส่วนศาลของสหรัฐอเมริกาใช้หลักที่ว่าศาลจะจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ หากศาลที่พิจารณาคดีอยู่นั้นเป็นสถานที่ีที่ไม่สะดวกอย่างยิ่งและมีศาลอื่นที่เป็นทางเลือกที่ดีกว่าให้ดำเนินคดีนั้นได้อยู่ ศาลสหรัฐฯ ได้แบ่งข้อพิจารณาเป็นสองส่วนหลักๆ คือ ก) ข้อพิจารณาเกี่ยวกับตัวคู่ความ เช่น การเข้าถึงการพิสูจน์พยานหลักฐานในคดี ค่าใช้จ่ายของตัวความหรือพยาน และ ข) ข้อพิจารณาเพื่อประโยชน์สาธารณะ เช่น การบังคับตามคำพิพากษา และปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย บทความนี้แบ่งออกเป็นสามส่วน โดยส่วนแรกจะกล่าวถึงนิยามและสภาพปัญหาของการขัดกันของเขตอำนาจศาล (Conflict of Court Jurisdiction) ในทางระหว่างประเทศว่ามีลักษณะอย่างไร และก่อให้เกิดข้อขัดข้องในการระงับข้อพิพาทอย่างไร ส่วนที่สองจะกล่าวถึงต้นกำเนิด ที่มาและพัฒนาการของทฤษฎี forum non conveniens (FNC) ตลอดจนการใช้หลักเกณฑ์ดังกล่าวแก้ไขปัญหาการขัดกันของเขตอำนาจศาลในสหราชอาณาจักรโดยเฉพาะอย่างยิ่งในคำพิพากษาของศาลของประเทศอังกฤษ และในส่วนที่สามจะกล่าวถึงการใช้ทฤษี forum non conveniens แก้ไขปัญหาการขัดกันของเขตอำนาจศาลในสหรัฐอเมริกาโดยดูจากคำพิพากษาทั้งในระดับ Circuit Court และคำพิพากษาของ US Supreme Court

Contact Us

St. Gabriel's Library (Hua Mak Campus)
592/3 Soi Ramkhamhaeng 24, Ramkhamhaeng Rd., Hua Mak, Bang Kapi, Bangkok 10240, Thailand

(662) 3004543-62 Ext. 3403

library@au.edu

The Cathedral of Learning Library (Suvarnabhumi Campus)
88 Moo 8 Bang Na-Trad Km. 26 Bang Sao Thong, Samut Prakan 10570, Thailand

(662) 7232024

library@au.edu

Website:  www.library.au.edu