วารสารนิติศาสตร์: ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2564)

Permanent URI for this collection

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 5 of 5
  • Item
    พันธกรณีของประเทศไทยที่มีต่อประมวลกฎการต่อต้านสารต้องห้ามโลก 2021
    (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, 2564) เสถียรภาพ นาหลวง ; จุฬา จงสถิตย์ถาวร
    องค์กรสารต้องห้ามโลกได้จัดทําประมวลกฎการต่อต้านสารต้องห้ามโลกกําหนดกรอบนโยบาย ระเบียบ และข้อบังคับสําหรับการต่อต้านสารต้องห้ามที่ใช้บังคับกับองค์กรกีฬาและองค์กรทางกฎหมายของรัฐ ประเทศและองค์การกีฬาที่ลงนามรับรองประมวลกฎการต่อต้านสารต้องห้ามโลกมีพันธกรณีจะต้องปฏิบัติตาม หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามองค์กรสารต้องห้ามโลกก็จะรายงานให้องค์กรคณะกรรมการกีฬาโอลิมปิคสากลลงโทษประมวลกฎต่อต้านสารต้องห้ามโลกฉบับแรกจัดทําขึ้นในปี ค.ศ. 2003 และได้รับการแก้ไขล่าสุดและมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ประเทศไทยได้ตรากฎหมายต่อต้านการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬาเพื่อปฏิบัติตามพิธีสารขององค์กรคณะกรรมการโอลิมปิคสากลที่บังคับให้องค์กรที่เป็นสมาชิกต้องยอมรับและปฏิบัติตามประมวลกฎการต่อต้านสารต้องห้ามโลกแต่เนื่องจากกฎหมายของประเทศไทยในปัจจุบันไม่ได้รับการแก้ไขให้สอดคล้องกับประมวลกฎการต่อต้านสารต้องห้ามโลก ค.ศ. 2021 จึงถูกลงโทษห้ามมิให้นักกีฬาไทยที่เข้าแข่งขันกีฬานานาชาติใช้ธงชาติไทยและตัดสิทธิมิให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬานานาชาติ
  • Item
    มุมมองนักศึกษากฎหมาย(Generation Z) ต่อคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกรณีการสมรสของคนเพศเดียวกัน
    (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, 2564) ชุฌาดา ทองกลับ ; พิชญาภา รุ่งเรือง ; ภูณิศา สุนทราณู
    เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ได้มีคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 20/2564 เกี่ยวกับการสมรสของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) ในประเด็นที่ว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1448 ไม่ขัดหรือแย้งกับมาตรา 4 มาตรา 5 มาตรา 25 มาตรา 26 และมาตรา 27 แห่งรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2560 โดยศาลรัฐธรรมนูญได้ให้เหตุผลว่าการสมรสนั้นต้องเป็นชายและหญิงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1448แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และเห็นว่าวัตถุประสงค์ของการสมรสเพื่อสืบเผ่าพันธุ์เท่านั้นอีกทั้งยังเห็นว่าเพศหญิงเพศชายมีการแบ่งแยกมาโดยธรรมชาติ (an act of god) ซึ่งผู้ที่ถือกําเนิดมานั้นเลือกไม่ได้ และหากให้บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศสมรสกันอาจเกิดกรณีการหวังผลประโยชน์จากสวัสดิการรัฐจากบุคคลภายนอกแต่อย่างไรก็ตามในมุมมองของผู้เขียนมีความเห็นว่าการสร้างครอบครัวถือเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน รากฐานของการสร้างครอบครัวนั้นเกิดจากการที่บุคคลยินยอม ตกลงที่จะใช้ชีวิตร่วมกันนํามาซึ่งการสมรสเมื่อมนุษย์มีการอยู่กันร่วมเป็นกลุ่มใหญ่มากขึ้น รัฐจึงต้องเป็นผู้กําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการสมรสจากวิถีชีวิตของคนในสังคมซึ่งการรับรองสิทธิสถานะของมนุษย์ของรัฐควรปรับเปลี่ยนได้ตามกาลเวลาที่เหมาะสมต่อสภาพสังคมในยุคนั้นๆการสมรสไม่ควรมีการจํากัดให้สิทธิ กล่าวคือ การสมรสในปัจจุบันอาจไม่ได้มีไว้เพื่อดํารงเผ่าพันธุ์เท่านั้น อีกทั้ง เมื่อเพศมีความหลากหลายกฎหมายก็ยิ่งไม่ควรจํากัดไว้แค่ชายและหญิง ด้วยเหตุนี้ รัฐต้องรับรองสิทธิให้กับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในฐานะที่เป็นมนุษย์และประชาชนของรัฐ ผลการศึกษาพบว่าปัจจุบันสังคมไทยมีการเปิดกว้างมากขึ้นเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ(LGBTQ+) ดังนั้น บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศไม่ควรถูกเลือกปฏิบัติไม่ว่าด้วยเหตุอะไรก็ตาม
  • Item
    แนวความคิดกฎหมายธรรมชาติ และกฎหมายบ้านเมืองที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของกฎหมายมหาชน
    (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, 2564) โกวิท วงศ์สุรวัฒน์
    บทความชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทําความเข้าใจเบื้องต้นแนวความคิดสํานักกฎหมายธรรมชาติ และสํานักกฎหมายบ้านเมือง ที่ปรากฎหรือมีอิทธิพลต่อกฎหมายมหาชน ภายหลังการเกิดขึ้นของรัฐสมัยใหม่ โดยที่นําแนวคิดพื้นฐานของนักคิดบางท่านในแต่ละสํานักมาอธิบายและวิเคราะห์นักคิดในสํานักกฎหมายธรรมชาติ เช่น John Locke, Hugo Grotius, Montesquieu, Rousseau และนักคิดในสํานักกฎหมายบ้านเมือง เช่น Jean Bodin, Thomas Hobbes, John Austin นํามาศึกษาพิจารณาข้อความคิดที่มีอิทธิพลปรากฎก่อรูปก่อร่างเป็นแนวคิดกฎหมายมหาชนภายหลังการเกิดขึ้นของรัฐสมัยใหม่อย่างไรบ้าง
  • Item
    สัญญาประกันภัยกับสิทธิผู้บริโภค
    (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, 2564) รัฐสภา จุรีมาศ ; ธนาเสฎฐ์ เศรษฐกุลเกียรติ
    สัญญาประกันภัยโดยหลักอยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยจะคุ้มครองผู้เอาประกันภัยในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากเหตุที่ได้ทําประกันภัยเอาไว้ จึงเป็นประเด็นที่ผู้เอาประกันภัยสามารถพิจารณาใช้สิทธิหากเกิดความเสียหายอันกระทบต่อสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลตามสัญญาประกันภัยในการดําเนินคดีอย่างคดีแพ่งสามัญทั่วไปหรือใช้สิทธิภายใต้หลักสัญญาผู้บริโภคในการดําเนินคดีอย่างคดีผู้บริโภค เนื่องจากผู้เอาประกันนั้นก็ถือว่าเป็นผู้บริโภคในลักษณะของการทําธุรกิจประกันภัยเพราะว่าเป็นผู้ที่ได้รับบริการจากบริษัทผู้รับประกันภัยที่ได้ประกอบธุรกิจ
  • Item
    การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการตัดสินใจในนโยบายต่างประเทศของรัฐ
    (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, 2564) เพ็ชรัตน์ ไสยสมบัติ
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการตัดสินใจในนโยบายต่างประเทศของรัฐและ 2)ศึกษาการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการตัดสินใจในนโยบายต่างประเทศของประเทศอื่นเพื่อนํามาเป็นข้อเสนอแนะต่อไปเป็นการศึกษาด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยกระบวนการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร โดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาผลการศึกษาพบว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้ให้อํานาจการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแสดงความคิดเห็นในนโยบายต่างประเทศผ่านมาตรา 178 โดยกําหนดว่าให้มีกฎหมายกําหนด วิธีการที่ประชาชนจะเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและได้รับการเยียวยาที่จําเป็นอันเกิดจากผลกระทบของการทําหนังสือสัญญาขณะที่ในบางประเทศเช่น ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศฝรั่งเศส มีการบัญญัติการมีส่วนร่วมของประชาชนในนโยบายต่างประเทศโดยการทําประชามติ ดังนั้น ประเทศไทยควรมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องและครอบคลุมการออกเสียงประชามติของประชาชนต่อการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในนโยบายต่างประเทศของรัฐ