วารสารนิติศาสตร์: ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2562)

Permanent URI for this collection

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 2 of 2
  • Item
    แนวทางศึกษาเปรียบเทียบมาตรการลงโทษทางอาญาฐานโจรกรรมเอกลักษณ์บุคคลระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกา
    (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, 2562) ภาณุพงศ์ เฉลิมสิน ; ณัชชา สุขะวัธนกุล
    การโจรกรรมเอกลักษณ์บุคคล (Identity Theft) คือการที่ข้อมูลเอกลักษณ์บุคคลถูกนำไปใช้โดยที่ ไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลนั้นและเพื่อแสวงหาประโยชน์อย่างผิดกฎหมายทั้งนี้การโจรกรรม เอกลักษณ์บุคคลเป็นอาชญากรรมที่แพร่หลายเป็นอย่างมากไม่เฉพาะในประเทศพัฒนาแล้วอย่าง สหรัฐอเมริกาหากแต่เกิดขึ้นทั่วโลกและยังเป็นการกระทำความผิดที่ส่งผลกระทบในวงกว้างไม่เฉพาะแต่ตัว เหยื่อผู้เสียหายเท่านั้นแต่ยังส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศทั้งทางด้านเศรษฐกิจสังคมและ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอีกด้วยการกระทำดังกล่าวทำให้เหยื่อได้รับความเสียหายทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจชื่อเสียงทรัพย์สินเวลาและยังเป็นความผิดที่ยากต่อการฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้โจรกรรมเอกลักษณ์ บุคคลเพราะโดยส่วนมากจะระบุตัวตนที่แท้จริงของผู้โจรกรรมข้อมูลไม่ได้แม้ว่าจะสามารถระบุได้ว่าใครคือ ผู้โจรกรรมข้อมูลที่แท้จริงแต่ที่อยู่ของผู้โจรกรรมข้อมูลขณะที่มีการกระทำความผิดอาจเป็นที่อยู่ปลอมหรือ อาจก่อเหตุในต่างประเทศก็เป็นได้นอกเหนือจากที่ผู้เสียหายจะดำเนินคดีอาญากับผู้โจรกรรมข้อมูลได้แล้ว ผู้เสียหายสามารถที่จะฟ้องผู้เก็บรักษาข้อมูลเอกลักษณ์บุคคลจากความประมาทเลินเล่อที่เกิดขึ้นจากมูล ละเมิดกล่าวคือผู้เก็บรักษาข้อมูลไม่ปฏิบัติตามหลักมาตรฐานทางการค้า“reasonable commercial standards”นอกจากนี้ความผิดที่เกิดขึ้นโดยส่วนมากมักมีสาเหตุมาจากพนักงานขององค์กรนั้นๆ เพราะ เป็นบุคคลที่เข้าถึงข้อมูลเอกลักษณ์ของเหยื่อได้ง่ายผู้เสียหายควรดำเนินคดีกับองค์กรและลูกจ้างเพราะผู้ เก็บรักษาข้อมูลจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบร่วมกับลูกจ้างจากหลัก “the doctrines of agency and respondent superior” ในบทความชิ้นนี้เป็นการศึกษาความหมายและวิธีการในการโจรกรรมเอกลักษณ์ บุคคลความรับผิดทางอาญาของผู้โจรกรรมผู้สนับสนุนและผู้ดูแลรักษาข้อมูลในส่วนแพ่งบทความชิ้นนี้ยัง เปรียบเทียบกฎหมายและคำพิพากษาระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการ โจรกรรมเอกลักษณ์บุคคลพร้อมนำเสนอข้อสรุปและข้อเสนอแนะตามลำดับ
  • Item
    การประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทมหาชนจากัดกับการคุ้มครองผู้ถือหุ้นรายย่อย
    (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, 2562) วราภรณ์ ทองอินทร์
    บทความนี้เป็นผลจากการศึกษาเกี่ยวกับมาตรการคุ้มครองผู้ถือหุ้นรายย่อยในการประชุมผู้ถือหุ้น ของบริษัทมหาชนจำกัดในประเทศไทย วัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงบทบัญญัติ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทมหาชนจำกัดในเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ถือหุ้นเพื่อให้สามารถมีส่วนร่วมในการกำกับการจัดการบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยวิธีการที่มีความเหมาะสมกับ โครงสร้างการจัดการบริษัทมหาชนจำกัดในประเทศไทย