วารสารนิติศาสตร์: ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2559)

Permanent URI for this collection

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 2 of 2
  • Item
    ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการโฆษณาขายยาและผลิตภัณฑ์ เสริมอาหารเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ และเครื่องสำอางผ่านเวบไซต์
    ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการโฆษณาผลิตภัณฑ์ขายยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เวชภัณฑ์ทางการแพทย์และเครื่องสำอางผ่านเวปไซด์ มีการโฆษณาส่งเสริมการขายในหลายรูปแบบ ลักษณะการโฆษณามีทั้งโฆษณาโดยตรงต่อผู้บริโภค โฆษณาแฝง และโฆษณาเปรียบเทียบ ซึ่งในแต่ ละรูปแบบพบการโฆษณาที่ฝ่าฝืนกฎหมายที่ควบคุมกำกับผลิตภัณฑ์ ในลักษณะหลอกลวงทำให้ เข้าใจผิดในสาระสำคัญของผลิตภัณฑ์ โฆษณาเป็นเท็จหรือเกินความจริง และการโฆษณายา อาหาร และเครื่องมือแพทย์โดยไม่ได้ขออนุญาต อยู่ตลอดเวลาก่อให้เกิดผลเสียหายและไม่เป็นธรรมต่อ ผู้บริโภค จากการศึกษาพบว่า แม้ว่าการโฆษณาผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะอยู่ภายใต้มาตรการควบคุมกำกับ ตามพระราชบัญญัติ ซึ่งเป็นกฎหมายควบคุมกำกับเฉพาะผลิตภัณฑ์ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยา ที่มีอำนาจรัฐพิจารณาตรวจสอบก่อนให้มีการเผยแพร่ และตรวจสอบ หลังจากโฆษณาเผยแพร่แล้ว ซึ่งกฎหมายเหล่านี้ได้บังคับใช้มานานแล้ว บทบัญญัติในแต่ละ พระราชบัญญัติมีความแตกต่างทั้งการขออนุญาต การสั่งระงับการโฆษณา และบทลงโทษ นอกจากนี้ ในแต่ละมาตรากำหนดไม่ชัดเจน ต้องใช้ดุลพินิจในการตีความอย่างมาก ไม่สามารถบังคับใช้ให้เกิด ประสิทธิภาพและคุ้มครองผู้บริโภคได้ ประกอบกับการหาผลประโยชน์จากการโฆษณาของ ผู้ประกอบการโดยไม่คำนึงถึงคุณธรรมและจริยธรรม ผู้เขียนจึงเห็นว่า ควรเสนอแก้ไขบทบัญญัติกฎหมายทางด้านโฆษณาผลิตภัณฑ์แต่ละฉบับที่มี ความแตกต่างกันในการควบคุมกำกับให้เป็นแนวทางเดียวกัน นอกจากนี้ควรให้ภาคเอกชนเข้ามามี ส่วนร่วมรับผิดชอบ มีระบบการควบคุมกันเองโดยองค์กรวิชาชีพ เช่น สมาคมโฆษณาธุรกิจแห่ง ประเทศไทย หรือองค์กรอื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน ร่วมกันช่วยพิจารณากลั่นกรองข้อความที่โฆษณา ของสมาชิกในสมาคมหรือองค์กร ก่อนที่จะมีการนำออกเผยแพร่สู่สาธารณชน ซึ่งการมีระบบควบคุม กันเองนี้ น่าจะเป็นวิธีการเหมาะสม เพื่อมิให้มีการโฆษณาที่ผิดกฎหมายเกิดขึ้น และเป็นการยกระดับ มาตราฐานของการโฆษณาให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
  • Item
    ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการประกันภัยพิบัติ
    (มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, 2559) กรกมล พุทธซ้อน
    ภัยพิบัติแต่ละครั้งไม่ว่าจะเกิดจากแผ่นดินไหว อัคคีภัย อุทกภัย หรือสึนามิ ล้วนสามารถสร้างความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน สังคมและเศรษฐกิจกับพื้นที่ที่เกิดเหตุการณ์นั้นขึ้น กรณีประเทศไทยจากเหตุการณ์อุทกภัยเมื่อปี พ.ศ. 2554 นอกจากเกิดความเสียหายในด้านต่างๆ ดังกล่าวแล้ว ยังพบว่าได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจประกันวินาศภัยเป็นอย่างมากเช่นกัน จึงได้มีการตราพระราชกำหนดกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ. 2555 เพื่อให้มีการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติขึ้น โดยทำหน้าที่บริหารความเสี่ยงโดยการรับประกันภัยและทำประกันภัยต่อตลอดจนให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินแก่ผู้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย เป็นต้น แต่ยังคงพบปัญหาบางประการที่ควรนำมาพิจารณา ด้วยเหตุนี้ วิทยานิพนธ์นี้จึงมีวัถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาที่เกิดจากการประกันภัยพิบัติ ทั้งนี้เพื่อศึกษาแนวความคิด หลักการและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกันตภัยภัยพิบัติในประเทศไทยรวมทั้งแนวคิด และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยพิบัติในต่างประเทศ ซึ่งจากการศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศพบว่า ในประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกานับเป็นประเทศที่เผชิญกับภัยพิบัติอยู่บ่อยครั้ง เช่นแผ่นดินไหว อุทกภัย โดยลำดับ จึงได้จัดหามาตรการทางกฎหมายในการแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนด้วยวิธีการประกันภัย ประกอบกับมีแนวทางด้านกฎหมายในการช่วยลดความเสียหายจากภัยพิบัติซึ่งนำมาใช้ควบคู่กับการรับประกันภัย ดังนั้น การศึกษานี้จึงมุ่งเสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยพิบัติ เพื่อให้การประกันภัยมีส่วนช่วยบรรเทาความเสียหายได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น