Research Reports

Permanent URI for this collection

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 2 of 2
  • Item
    "ประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองและสาระสำคัญในรัฐธรรมนูญของประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน"
    (Assumption University, 2559-07) ภูมิ มูลศิลป์
    สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน (Association of Southeast Asian Nations : ASEAN) มีประเทศสมาชิก 10 ประเทศ เข้ารวมตัวในวาระและจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ในครั้งแรกมีจุดมุ่งหมายคือเพื่อความร่วมมือทางการเมือง และร่วมกันป้องกันการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 ต่อมาสมาคมอาเซียนได้เติบโตขึ้นและพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสังคมประกอบด้วย นอกจากนี้อาเซียนยังมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมสันติภาพและความมั่งคงของภูมิภาค ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับต่างประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศ อาเซียนได้พัฒนาจนถึงขั้นรวมตัวจัดตั้งเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2558 โดยมุ่งหวังประโยชน์จากการรวมตัวเพื่อทำให้ประชาชนมีการอยู่ดีกินดีปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ มีสิ่งแวดล้อมที่ดีและมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน โดยมีกลไกขับเคลื่อนความร่วมมือในหมู่สมาชิกเพื่อนำไปสู่ความมุ่งหวังดังกล่าวเรียกว่า 3 เสาหลัก อาเซียนซึ่งเป็นพื้นที่ที่เกิดจากการบูรณาด้วยการจินตนาการ และถูกกำกับโดยกฎบัตรอาเซียนมีภาพรวมที่คำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนและความมั่นคงในภูมิภาคโดยรวมจะกลายเป็นพื้นที่แห่งความจริงคือความสำนึกเรื่องการเป็นพลเมืองอาเซียนได้อย่างไร ในเมื่อแต่ละประเทศต่างมีรัฐธรรมนูญของตนที่คำนึงถึงผลประโยชน์ของแต่ละประเทศกำกับอยู่ ผู้วิจัยจึงเริ่มต้นจากการเลือกศึกษาค้นคว้ารัฐธรรมนูญของประเทศสมาชิกอาเซียน 9 ประเทศ ยกเว้นประเทศไทยเนื่องจากยังไม่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวรภายหลังการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2557 เพื่อให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ทางการเมืองการปกครอง ตลอดจนสาเหตุที่ทำให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน 9 ประเทศ และสาระของรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะเป็นองค์ความรู้สำหรับการสนับสนุนอาเซียนให้ขับเคลื่อนเข้าสู่การเป็นพื้นที่แห่งความเป็นจริงได้ในที่สุด
  • Item
    มาตรการทางกฎหมายเพื่อการบริหารจัดการให้มีจำนวนช้างป่าเอเชียที่เหมาะสมและทิศทางการเตรียมร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยอุทยานช้างแห่งชาติ
    สภาพปัญหาของช้างป่าที่มีจำนวนไม่สมดุลกับพื้นที่อยู่อาศัยเกิดจากปัญหาหลายประการเช่น การล่าช้าง พื้นที่ป่าถูกทำลาย แหล่งอาหาร และแหล่งน้ำลดลง ความขัดแย้งระหว่างคนและช้าง ความไม่เหมาะสมของประชากรช้างป่าในพื้นที่อนุรักษ์ การขยายพันธุ์ พันธุกรรมช้าง การสวมทะเบียนตั๋วรูปพรรณและการตีทะเบียนช้าง และการขาดการจัดการ ซึ่งประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ที่เป็นถิ่นกำเนิดของช้างมีวิธีการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยใช้มาตรการทางกฎหมาย และมาตการทางการบริหารจัดการพื้นที่อยู่อาศัยของช้างป่าควบคู่กันไป มาตการการบริหารจัดการช้างป่าในประเทศไทยและประเทศถิ่นกำเนิดอื่นๆ จะคล้ายกันกล่าวคือ มีการปรับปรุงแหล่งที่อยู่อาศัยในพื้นที่ป่าโดยการสร้างและปรับปรุงแหล่งน้ำ แหล่งอาหาร เช่น การปลูกพืชอาหารของสัตว์ป่า การทำโป่งเทียม ส่วนวิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าจะใช้เทคนิคการป้องกันแบบใช้สิ่งกีดขวาง โดยการขุดคูกันช้างป่าสร้างกำแพงหินทำแนวรั้วธรรมดา ทำรั้วไฟฟ้า ทำรั้วพริก การปลูกพืชเป็นแนวกันชน การสร้างหอเฝ้าระวัง การทำสัญญาณเตือนภัย และการทำรั้วรังผึ้ง และยังใช้เทคนิคการป้องกันแบบการขับไล่โดยการใช้คนในการขับไล่ช้าง ด้วยวิธีการทำให้เกิดเสียงดัง และการใช้แสงไฟ การขว้างปาหินหรือสิ่งของใส่ช้าง การใช้พาหนะขับไล่ การเคลื่อนย้ายช้างออกจากพื้นที่มีปัญหา รวมทั้งการจ่ายค่าชดเชยความเสียหาย เป็นต้น จากการวิเคราะห์วิธีการแก้ปัญหาจำนวนช้างป่าที่ไม่สมดุลกับพื้นที่อยู่อาศัยในประเทศไทยเปรียบเทียบกับต่างประเทศ พบว่าประเทศไทยยังขาดกฎหมายเฉพาะในการกำหนดพื้นที่ป่าธรรมชาติผืนใหญ่เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยของช้างป่า ดังนั้น ผู้วิจัยจึงเสนอให้มีการเตรียมร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยอุทยานช้างป่าแห่งชาติ โดยให้คณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดพื้นที่ในกลุ่มป่าตะวันออก หรือ "ป่ารอยต่อห้าจังหวัด" เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีอาณาเขตอยู่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา สระแก้ว จันทบุรี ระยอง และชลบุรี โดยมีพื้นที่ป่าอนุรักษ์รวมกันทั้งสิ้น 2,453 ตารางกิโลเมตร โดยมีช้างป่าทั้งหมดประมาณ 400-500 ตัว ซึ่งครอบคลุมเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติ 6 แห่ง ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอ่างฤาไน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองเครือหวายเฉลิมพระเกียรติ อุทยานแห่งชาติเขาสิบห้าชั้น อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกุฏ และอุทยานแห่งชาติเขาชะเมา และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติอีกจำนวนหนึ่ง โดยจะเป็นพื้นที่นำร่องของแลุ่มป่าอีก 6 กลุ่มป่า ได้แก่ กลุ่มป่าแก่งกระจาน กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ กลุ่มป่าภูเขียวน้ำหนาว กลุ่มป่าคลองแสง-เขาสก และกลุ่มป่าภาคเหนือซึ่งมีช้างป่าอาศัยอยู่เนื่องจากกลุ่มป่าตะวันออกเกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่ามากที่สุด โดยเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 มาจนถึงปัจจุบัน เพราะราษฎรส่วนใหญ่ในกลุ่มป่าภาคตะวันออกมีทัศนคติเชิงบวกต่อช้างป่า ไม่คิดทำร้ายช้าง และยังเห็นว่าช้างเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมือง และช้างเรียนรู้ว่าคนเป็นมิตรและไม่เป็นอันตราย การมีอุทยานช้างป่าแห่งชาติในประเทศไทยจะเป็นมาตรการในการแก้ปัญหาช้างป่าให้มีจำนวนสมดุลกับพื้นที่อยู่อาศัยในป่าธรรมชาติิอีกวิธีหนึ่งที่มีประสิทธิภาพ เพื่อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เอื้อต่อการดำรงชีวิตของช้าง และการทำเกษตรกรรมของราษฎร และเพื่อยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าชนิดอื่นๆ อีกทั้งยังเป็นแหล่งขยายพันธุ์ของช้างป่าและสัตว์ป่าอื่นๆ ตลอดจนสามารถบรรเทาปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าได้อย่างยั่งยืน