ข้อสังเกตเกี่ยวกับการเยียวยาชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นที่ถูกกักกันระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่สองในประเทศสหรัฐอเมริกา
by ประภาภรณ์ โรจน์ศิริรัตน์
Title: | ข้อสังเกตเกี่ยวกับการเยียวยาชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นที่ถูกกักกันระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่สองในประเทศสหรัฐอเมริกา |
Other title(s): | Remarks on reparations for the victims of Japanese American interment during the second world war in the United States |
Author(s): | ประภาภรณ์ โรจน์ศิริรัตน์ |
Issued date: | 2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ |
Citation: | วารสารนิติศาสตร์ 8, 1 (มกราคม - มิถุนายน 2560), 123-138 |
Abstract: |
สิทธิในการได้รับการเยียวยาชดใช้ความเสียหายนั้นนับเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของเหยื่อผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยหลักการแล้วจะเห็นได้ว่าวัตถุประสงค์หลักของการเยียวยาชดใช้ความเสียหายแก่เหยื่อผู้ถูกสิทธิมนุษยชนนั้นคือเพื่อทำให้เหยื่อผู้ที่ได้รับความเสียหายกลับคืนสู่ฐานะเดิมก่อนมีการละเมิดสิทธิมนุษยชน สำหรับเหยื่อนั้นการเยียวยาชดใช้ความเสียหายประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญสามประการ กล่าวคือ ความรับรู้ถึงความเจ็บปวด การเยียวยาความเสียหาย และการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น รวมทั้งความพยายามของรัฐในการแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดในอดีต
การสร้างหลักเกณฑ์การเยียวยาชดใช้ความเสียหายโดยฝ่ายบริหารที่ดีนั้นหาใช่เพียงการชดใช้ด้วยจำนวนเงินเพียงประการเดียว หรือการคัดลอกหลักเกณฑ์การเยียวยาชดใช้ความเสียหายและประสบการณ์การเยียวยาชดใช้ความเสียหายจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนของประเทศอื่น การออกแบบหลักเกณฑ์การเยียวยาที่ดีจึงไม่มีรูปแบบที่ตายตัว หากแต่เป็นการเยียวยาชดใช้ความเสียหายที่คำนึงถึงความรู้สึกของเหยื่อผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นหลัก และรูปแบบการเยียวยาชดใช้ความเสียหายนั้นต้องสามารถบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นในแง่ของประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมและประโยชน์เชิงสัญลักษณ์ ทั้งนี้เพื่อบรรเทาความเสียหายของเหยื่อยและบรรเทาความขัดแย้งรวมทั้งสร้างความปรองดองระหว่างผู้กระทำละเมิดและเหยื่อผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน
วัตถุประสงค์ของบทความแบับนี้นั้นเป็นการยกตัวอย่างการเยียวยาผ่านหลักเกณฑ์การเยียวยาที่ีมีเหยื่อเป็นศูนย์กลาง (Victim-Oriented Reparation Program) กล่าวคือ การเยียวยาชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นที่ถูกกักกันระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่สองในสหรัฐอเมริกา ซึ่งหลักเกณฑ์การเยียวยาชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นที่ีถูกกักกันระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่สองในรหรัฐอเมริกานั้นเกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวเรียกร้องของเหยื่อที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยตรงจากเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเวลานาน จนท้ายที่สุดได้มาซึ่งหลักเกณฑ์ที่เหยื่อพึงพอใจ โดยหลักเกณฑ์นั้นประกอบไปด้วยการเยียวยาในรูปแบบที่เป็นตัวเงิน (Monetary Form of Reparations) คือการจ่ายเงินเยียวยาแก่เหยื่อผู้ถูกกักกันที่รอดชีวิตจำนวน 20,000 ดอลลาร์สหรัฐ และการเยียวยาในรูปแบบอื่นซึ่งมิใช่ตัวเงิน (Non-Monetary Form of Reparations) คือ การกล่าวคำขอโทษอย่างเป็นทางการ นอกจากนี้การเยียวยาชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นที่ถูกกักกันระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่สองในสหรัฐอเมริกายังก่อให้เกิดบทเรียนแก่สังคมโดยรวมในการตระหนักถึงความผิดพลาดในอดีตเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำความผิดพลาดซ้ำอีกในอนาคตอีกด้วย |
Subject(s): | วารสารนิติศาสตร์
วารสารนิติศาสตร์ -- 2560 |
Keyword(s): | สิทธิมนุษยชน
การละเมิดสิทธิมนุษยชน การเยียวยา การชดใช้ความเสียหาย การเยียวยาชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นที่ถูกกักกันระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง สิทธิในการได้รับการเยียวยา หลักเกณฑ์การเยียวยา Human rights Human rights violations Redress Reparations Remedy The Japanese American Internment The Japanese American Reparations Right to reparations Victim-oriented reparation program |
Resource type: | Journal Article |
Extent: | 16 หน้า |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | This work is protected by copyright. Reproduction or distribution of the work in any format is prohibited without written permission of the copyright owner. |
Rights holder(s): | มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ |
URI: | http://repository.au.edu/handle/6623004553/20022 |
Files in this item (EXCERPT) |
|
View au-lawj-Abstract-20022.PDF ( 315.92 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|