วารสารนิติศาสตร์: ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2562)

Permanent URI for this collection

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 3 of 3
  • Item
    บทความวิจัย มาตรการทางกฎหมายและการปรับตัวของประเทศไทยต่อการเปิดเสรีด้านบริการ ในสาขาวิศวกรรมภายใต้กรอบการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on Service-AFAS) และระบบการค้าโลกใหม่: โอกาสและผลกระทบ
    ภายใต้บริบทที่การค้าด้านบริการของภูมิภาคอาเซียนเติบโตและพัฒนาถึงขีดสุด ประกอบกับปัจจัย ภายในทางสังคมของประเทศไทยและปัจจัยภายนอก คือ ทิศทางแนวโน้มในการเปิดเสรีการค้าบริการด้าน วิศวกรรมโลกและการขยายการค้าและการลงทุนตามนโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (One-Belt OneRoad—OBOR) สู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของจีน มีความเป็นไปได้สูงที่ประเทศไทยจะประสบ ปัญหาการขาดแคลนวิศวกรและธุรกิจงานบริการวิศวกรรมในอนาคตอันใกล้ โดยมีแนวโน้มที่จะขาดแคลนวิศวกรมีฝีมือแม้จะมีการเพิ่มขึ้นของจำนวนสถาบันการศึกษาที่เปิดการเรียนการสอนในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ที่ควรส่งผลในเชิงบวกต่อปัญหาการขาดแคลนแรงงานก็ตาม ในขณะที่การเปิดเสรีด้านวิศวกรรมอาเซียนก็จะส่งผลให้มีการไหลออกของแรงงานวิศวกรจากประเทศไทยมากขึ้นไปด้วย
  • Item
    กฎหมายการให้รัฐเข้าถึงและได้มาซึ่งข้อมูลที่บุคคลสื่อสารถึงกันในสหราชอาณาจักร
    ปัจจุบันอำนาจในการเข้าถึงข้อมูลที่บุคคลสื่อสารถึงกันนั้นสามารถพบเห็นได้ในหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มประเทศยุโรป ที่มีการออกมาตรการให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐ สามารถกระทำการเพื่อเข้าถึงหรือเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลการติดต่อสื่อสารของบุคคลซึ่งอยู่ในประเทศนั้น โดย มุ่งกระทำเพื่อหาแนวทางหรือมาตรการในการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่รัฐตนได้ อาทิ การติดต่อสื่อสารในลักษณะที่อาจมีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศอาชญากรรมร้ายแรง หรือความปลอดภัยสาธารณะของประชาชน
  • Item
    พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560:การกำกับการควบรวมกิจการฉบับใหม่ (ตอนที่ 1)
    (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, 2562) อภิรดี สปริงออล
    เนื่องจากพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 เพิ่งมีผลใช้บังคับได้ไม่นาน ประกาศ ต่างๆ ของคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าที่เกี่ยวกับการควบรวมกิจการเพิ่งถูกประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา ผู้เขียนจึงเขียนบทความนี้เพื่อสื่อสารกับผู้อ่านที่สนใจ กฎหมายการควบรวมกิจการภายใต้พระราชบัญญัตินี้ โดยแบ่งออกเป็นสองตอนคือตอนที่ 1 เกี่ยวกับการ ควบรวมกิจการที่อาจก่อให้เกิดการลดการแข่งขันอย่างมีนัยส าคัญภายใต้มาตรา 51 วรรคหนึ่ง และตอนที่ 2 เกี่ยวกับการควบรวมกิจการที่อาจก่อให้เกิดการผูกขาดหรือการเป็นผู้ประกอบธุรกิจที่มีอ านาจเหนือตลาด ภายใต้มาตรา 51 วรรคสอง ในตอนที่หนึ่งนี้ ผู้เขียนได้เปรียบเทียบกับแนวปฏิบัติที่แนะนำโดย International Competition Network (ICN) และแนวทางการกำกับดูแลการควบรวมกิจการของ สาธารณรัฐสิงคโปร์ และสาธารณรัฐไต้หวัน จากการศึกษาพบว่าการควบรวมกิจการภายใต้มาตรา 51 วรรค หนึ่งไม่มีความสอดคล้องกับแนวทางของ ICN และสาธารณรัฐสิงคโปร์และไต้หวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนิยาม ของคำว่า “ลดการแข่งขันในตลาดอย่างมีนัยสำคัญ” ซึ่งมีผลกระทบต่อความสามารถของคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าในอันที่จะกำกับดูแลการประกอบธุรกิจอย่างเสรีและเป็นธรรม