แนวทางศึกษาเปรียบเทียบมาตรการลงโทษทางอาญาฐานโจรกรรมเอกลักษณ์บุคคลระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกา
by ภาณุพงศ์ เฉลิมสิน; ณัชชา สุขะวัธนกุล
Title: | แนวทางศึกษาเปรียบเทียบมาตรการลงโทษทางอาญาฐานโจรกรรมเอกลักษณ์บุคคลระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกา |
Other title(s): | A comparative study of criminal punishment of identity theft in Thailand and the United States |
Contributor(s): | ภาณุพงศ์ เฉลิมสิน ณัชชา สุขะวัธนกุล |
Issued date: | 2562 |
Publisher: | คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ |
Citation: | วารสารนิติศาสตร์ 10, 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2562), 169-195 |
Abstract: |
การโจรกรรมเอกลักษณ์บุคคล (Identity Theft) คือการที่ข้อมูลเอกลักษณ์บุคคลถูกนำไปใช้โดยที่
ไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลนั้นและเพื่อแสวงหาประโยชน์อย่างผิดกฎหมายทั้งนี้การโจรกรรม
เอกลักษณ์บุคคลเป็นอาชญากรรมที่แพร่หลายเป็นอย่างมากไม่เฉพาะในประเทศพัฒนาแล้วอย่าง
สหรัฐอเมริกาหากแต่เกิดขึ้นทั่วโลกและยังเป็นการกระทำความผิดที่ส่งผลกระทบในวงกว้างไม่เฉพาะแต่ตัว
เหยื่อผู้เสียหายเท่านั้นแต่ยังส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศทั้งทางด้านเศรษฐกิจสังคมและ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอีกด้วยการกระทำดังกล่าวทำให้เหยื่อได้รับความเสียหายทั้งทางด้านร่างกาย
จิตใจชื่อเสียงทรัพย์สินเวลาและยังเป็นความผิดที่ยากต่อการฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้โจรกรรมเอกลักษณ์
บุคคลเพราะโดยส่วนมากจะระบุตัวตนที่แท้จริงของผู้โจรกรรมข้อมูลไม่ได้แม้ว่าจะสามารถระบุได้ว่าใครคือ
ผู้โจรกรรมข้อมูลที่แท้จริงแต่ที่อยู่ของผู้โจรกรรมข้อมูลขณะที่มีการกระทำความผิดอาจเป็นที่อยู่ปลอมหรือ
อาจก่อเหตุในต่างประเทศก็เป็นได้นอกเหนือจากที่ผู้เสียหายจะดำเนินคดีอาญากับผู้โจรกรรมข้อมูลได้แล้ว
ผู้เสียหายสามารถที่จะฟ้องผู้เก็บรักษาข้อมูลเอกลักษณ์บุคคลจากความประมาทเลินเล่อที่เกิดขึ้นจากมูล
ละเมิดกล่าวคือผู้เก็บรักษาข้อมูลไม่ปฏิบัติตามหลักมาตรฐานทางการค้า“reasonable commercial
standards”นอกจากนี้ความผิดที่เกิดขึ้นโดยส่วนมากมักมีสาเหตุมาจากพนักงานขององค์กรนั้นๆ เพราะ
เป็นบุคคลที่เข้าถึงข้อมูลเอกลักษณ์ของเหยื่อได้ง่ายผู้เสียหายควรดำเนินคดีกับองค์กรและลูกจ้างเพราะผู้
เก็บรักษาข้อมูลจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบร่วมกับลูกจ้างจากหลัก “the doctrines of agency and
respondent superior” ในบทความชิ้นนี้เป็นการศึกษาความหมายและวิธีการในการโจรกรรมเอกลักษณ์
บุคคลความรับผิดทางอาญาของผู้โจรกรรมผู้สนับสนุนและผู้ดูแลรักษาข้อมูลในส่วนแพ่งบทความชิ้นนี้ยัง
เปรียบเทียบกฎหมายและคำพิพากษาระหว่างประเทศไทยกับสหรัฐอเมริกาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการ
โจรกรรมเอกลักษณ์บุคคลพร้อมนำเสนอข้อสรุปและข้อเสนอแนะตามลำดับ |
Subject(s): | วารสารนิติศาสตร์
วารสารนิติศาสตร์ -- 2562 |
Keyword(s): | การโจรกรรมเอกลักษณ์บุคคล
ข้อมูลเอกลักษณ์บุคคล ผู้ดูแลข้อมูล Identity theft Personal identification information Data collector |
Resource type: | Journal Article |
Extent: | 27 หน้า |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | This work is protected by copyright. Reproduction or distribution of the work in any format is prohibited without written permission of the copyright owner. |
Rights holder(s): | Assumption University |
URI: | http://repository.au.edu/handle/6623004553/23003 |
Files in this item (EXCERPT) |
|
View AU-lawj-23003.pdf ( 569.69 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|