วารสารนิติศาสตร์: ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2563)

Permanent URI for this collection

Browse

Recent Submissions

Now showing 1 - 4 of 4
  • Item
    บทบัญญัติโทษที่เหมาะสมสำหรับนักการเมืองที่ประพฤติทุจริต
    (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, 2563) กันตเมธส์ จโนภาส
    ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นของนักการเมืองในหน่วยงานของรัฐเป็นปัญหาที่มีความสำคัญ ซึ่งเป็นปัญหาที่มีมาอย่างช้านานแม้ว่ารัฐบาลทุกยุคทุกสมัยจะพัฒนาวิธีการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเรื่อยมาแต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงศึกษาถึงปัญหากระบวนการทางกฎหมายในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นเกี่ยวกับการไม่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินและเรียกทรัพย์สินที่ได้จากการทุจริตคอร์รัปชั่นของเจ้าหน้าที่ของรัฐคืนให้กับรัฐ ปัญหาเกี่ยวกับการลงโทษนักการเมืองที่ทุจริตคอร์รัปชั่น และ มาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมในการลงโทษนักการเมืองที่ทุจริตคอร์รัปชั่น โดยวิธีการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายภายในและกฎหมายต่างประเทศรวมถึงสัมภาษณ์เจาะลึกเพื่อประกอบการศึกษา ซึ่งผลการวิจัยพบว่า วิธีการดำเนินการแก้ไขปัญหาการทุจริตในหน่วยงานรัฐยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรและการก าหนดโทษที่มีอยู่ยังไม่มีความเหมาะสม
  • Item
    บรรทัดฐานของศาลปกครองในการใช้อำนาจควบคุม การใช้ดุลพินิจของฝ่ายปกครองในการโอนย้ายข้าราชการ
    (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, 2563) เนทิณีย์ พรหมณะ
    ปัญหาการโยกย้ายข้าราชการเป็นปัญหาที่พบอยู่ทุกยุคทุกสมัย เนื่องจากการโยกย้ายเป็นการ จัดระเบียบให้หน่วยงาน เพื่อหน่วยงานจะได้บุคลากรที่มีคุณภาพเหมาะสมกับงาน แต่ทั้งนี้ การโยกย้ายอาจแอบแฝงด้วยความไม่เป็นธรรม อาจเกิดการกลั่นแกล้ง เนื่องจากการออกค าสั่งโยกย้ายเป็นคำสั่งซึ่งออกโดยผู้บังคับบัญชา ซึ่งอาจส่งผลต่อผู้ถูกย้าย หากเป็นเช่นนั้นจะมีระบบการตรวจสอบการใช้อำนาจโยกย้ายของฝ่ายปกครอง โดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมเพื่อผู้ร้องสามารถยื่นอุทธรณ์กรณีการโยกย้ายของตนได้ หากไม่เห็นด้วยสามารถยื่นฟ้องต่อศาลปกครองซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ให้ศาลปกครองรับพิจารณากรณีฝ่ายปกครองออกคำสั่งทางปกครองที่ไม่เป็นธรรมซึ่งศาลปกครองยังไม่มีหลักกฎหมายในการพิจารณา ศาลปกครองต้องใช้ข้อเท็จจริงประกอบกับข้อกฎหมาย ร่วมกับทฤษฎีหลักการทางปกครองพิจารณาซึ่งถือว่าเป็นการใช้ดุลพินิจที่มากกว่าการนำตัวบทมาปรับใช้ ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นได้ ดังนั้น การสร้างบรรทัดฐานหรือมาตรการที่ชัดเจนให้ศาลปกครองในการพิจารณากรณีการโยกย้ายจึงต้องมีการกำหนดขึ้น
  • Item
    ปัญหาชนกลุ่มน้อยโรฮิงญาในประเทศเมียนม่า:บทบาทและการให้ความช่วยเหลือของประเทศบังคลาเทศ
    (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, 2563) สนาม ทาเร็ค
    บทความนี้ได้นำเสนอผลกระทบจากการที่ประเทศเมียนมาได้กระทำต่อชนกลุ่มน้อยชาวโรฮิงญาทำให้มีผลเป็นการอพยพไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านใกล้ๆ โดยเฉพาะประเทศบังคลาเทศ โดยดูจากจุดกำเนิดของวิกฤตการณ์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องตลอดจนสถานการณ์ปัจจุบันจุดยืนขององค์การสหประชาชาติและสหรัฐอเมริกา จีน รวมทั้งอินเดียซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่มีอิทธิพลภายในภูมิภาคโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีอิทธิพลเหนือประเทศบังคลาเทศ บทความนี้ได้ข้อสรุปว่า แม้ว่าประชาคมของโลกจะรู้สึกเห็นอกเห็นใจต่อผู้ลี้ภัยไร้รัฐชาวโรฮิงญา แต่ประชาคมโลกก็ยังไม่สามารถที่จะยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือหรือหาทางออกเพื่อแก้ไขวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ภายใต้กรอบของกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง การจะเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้มีความเกี่ยวข้องและแรงกดดันจากประเทศต่างๆ เช่นจีนและอินเดียซึ่งถือว่าเป็นมหาอำานาจในภูมิภาคและยังมีแรงกดดันจากประชาคมโลกอย่างเช่นกลุ่ม G8 ซึ่งพยายามมีบทบาทใน วิกฤตการณ์มนุษยธรรมต่างๆ ตลอดจนความรับผิดชอบร่วมกันของนานาประเทศซึ่งส่งเสริมให้เกิดความสามารถในด้านของโครงสร้างพื้นฐานและระบบเศรษฐกิจ คำตอบสุดท้ายสำหรับกรณีของชาวโรฮิงญาอาจจะเป็นไปได้คือ ประชาคมโลกร่วมกันแสดงท่าทีกดดันให้เมียนมารับเอาผู้อพยพชาวโรฮิงญาพร้อมทั้งให้สิทธิในสัญชาติแจกคนเหล่านั้น
  • Item
    การฟ้องคดีอาญาประธานาธิบดีในขณะที่ดำรงตำแหน่ง
    (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, 2563) มาสติน, แอนดูรว์ ดี.
    บทความนี้จะได้พิจารณาถึงคำถามที่ว่าประธานาธิบดีซึ่งอยู่ในตำแหน่งสามารถที่จะถูกฟ้องร้องในคดีอาญาได้หรือไม่ ในการตอบคำถามนี้ผู้เขียนได้พิจารณาจากตัวบทของรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกาและการตู้เย็นกันในทางความคิดเห็นซึ่งปรากฏอยู่ในเอกสารการร่างและการให้สัตยาบันรัฐธรรมนูญดังกล่าว ประการที่ 2 ผู้เขียนได้พิจารณาจากคำพิพากษาของศาลที่เกี่ยวข้องในประเด็นนี้ รายการที่ 3 ผู้เขียนได้วิเคราะห์ถึงเอกสารของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐอเมริกาและอัยการสูงสุดของสหรัฐซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่โดยได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการฟ้องร้องประธานาธิบดี และประการสุดท้ายผู้เขียนได้คำนึงถึงข้อพิจารณาในทางปฏิบัติเกี่ยวกับการฟ้องร้องประธานธิบดีซึ่งกำลังดำรงต าแหน่งอยู่ ผู้เขียนพบว่าไม่มีแนวทางปฏิบัติหรือแนวคำพิพากษาหรือกฎหมายใดๆที่ห้ามการฟ้องคดีอาญาดังกล่าวการฟ้องคดีเช่นว่านั้นอาจจะสามารถทำได้ด้วยความระมัดระวังในสถานการณ์ที่เหมาะสม