สัญญาค้ำประกันเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทหรือไม่

Published date
2558
Resource type
Publisher
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
ISBN
ISSN
2228-9526
DOI
Call no.
Other identifier(s)
Edition
Copyrighted date
Language
tha
File type
application/pdf
Extent
11 หน้า
Other title(s)
Dose suretyship redeem the successor?
Advisor
Other Contributor(s)
Citation
วารสารนิติศาสตร์ 6, 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2558), 34-44
Degree name
Degree level
Degree discipline
Degree department
Degree grantor
Abstract
สัญญาค้ำประกัน เป็นการประกันด้วยตัวบุคคลโดยผู้ค้ำประกันทำสัญญากับเจ้าหนี้ว่าหากลูกหนี้ผิดนัดต่อเจ้าหนี้ ผู้ค้ำประกันจะชำระหนี้แทนลูกหนี้ ซึ่งแตกต่างจากการประกันหนี้ในลักษณะอื่น เช่น จำนองหรือจำนำ โดยกรณีจำนองหรือจำนำนั้นผู้จำนองหรือผู้จำนำจะนำทรัพย์สินไปเป็นประกันหนี้ ซึ่งกรณีสัญญาค้ำประกันนั้นกฎหมายไม่ได้กำหนดแบบไว้แต่อย่างใด กำหนดไว้แต่เพียงว่าหากจะมีการฟ้องร้องให้บังคับคดีตามสัญญาค้ำประกั้นจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกัน หากเจ้าหนี้ใช้หลักฐานเป็นหนังสือที่่ลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันมาเป็นหลักฐานในการฟ้องร้องให้ผู้ค้ำประกันรับผิดตามสัญญา หลักฐานดังกล่าวไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ก็ใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้องได้ แต่อย่างไรก็ตาม หากสัญญาค้ำประกันทำเต็มรูปแบบลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันและเจ้าหนี้ เช่นนี้ สัญญาค้ำประกันถือเป็นหนังสือตราสารอย่างหนึ่ง ซึ่งหากจะใช้สัญญาดังกล่าวฟ้องร้องผู้ค้ำประกันให้รับผิดตามสัญญา สัญญาค้ำประกันนั้นก็จะต้องติดอากรแสตมป์จึงจะใช้ฟ้องคดีนั้นได้ จากกรณีที่สัญญาค้ำประกันเป็นการประกันด้วยบุคคล เมื่อลูกหนี้ผิดนัดต่อเจ้าหนี้ในขณะที่ผู้ค้ำประกันยังมีชีวิตอยู่ ความรับผิดของผู้ค้ำประกันย่อมเกิดขึ้นแล้วและต่อมาผู้ค้ำประกันถึงแก่ความตาย ความรับผิดชอบของผู้ค้ำประกันย่อมเป็นมรดกตกแก่ทายาทของผู้ค้ำประกัน เนื่องจากความรับผิดของผู้ค้ำประกันไม่ใช่เรื่องเฉพาะตัวของผู้ค้ำประกัน แต่หากเป็นกรณีที่ผู้ค้ำประกันถึงแก่ความตายก่อนที่ลูกหนี้จะผิดนัดต่อเจ้าหนี้ ผู้เขียนเห็นว่า สัญญาค้ำประกันน่าจะต้องระงับเพราะจากที่กล่าวมาแล้วว่าการทำสัญญาค้ำประกันเป็นการประกันหนี้ด้วยตัวบุคคลซึ่งน่าจะเป็นสัญญาเฉพาะตัวของผู้ค้ำประกัน สิทธิและหน้าที่ตามสัญญาค้ำประกันจึงไม่น่าจะเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท ดังนั้น หากลูกหนี้ผิดนัดต่อเจ้าหนี้ภายหลังที่ผู้ค้ำประกันถึงแก่ความตายถือว่าความรับผิดของผู้ค้ำประกันเกิดหลังจากที่ผู้ค้ำประกันถึงแก่ความตาย ทายาทของผู้ค้ำประกันจึงไม่น่าจะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้ แต่อย่างไรก็ตามมีคำพิพากษาฎีกาที่ 1268/2555 วินิจฉัยว่า แม้ผู้ค้ำประกันจะถึงแก่ความตายก่อนลูกหนี้ผิดนัดต่อเจ้าหนี้ ความรับผิดก็ยังคงต้องตกแก่ทายาทของผู้ค้ำประกัน ด้วยความเคารพในคำพิพากษาฎีกาดังกล่าว ผู้เขียนเห็นว่า เมื่อผู้ค้ำประกันถึงแก่ความตายก่อนที่ความรับผิดของผู้ค้ำประกันจะเกิดขึ้น ทายาทของผู้ค้ำประกันจึงหาจำต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้แต่อย่างใด
Suretyship is a guarantee by person whereby the surety has entered into a contract with creditor and binds himself to satisfy an obligation in lieu of a debtor if debtor fails to perform such obligation. The contract of suretyship is different from mortgage and pledge as it requires no registration or consignment of properties. Neither has its form, suretyship requires merely written evidence unilaterally signed by the surety for purpose of enforcement. Such the document requires no even affixture of duty stamps. The case is different when it bears signature of the creditor together with the one of the surety. With two signatures of the parties, the contract is treated by law as a written instrument of which requires affixture of duty stamps in order to be enforced by creditor. as the matter of fact that suretyship is a guarantee by person, there is thus a legal issue subject to attention of this research and that is regarding the death of the surety. Whereas the Supreme Court, in its decision No. 1268/2555 (2012), has previously ruled that though the surety had passes away before the debtor was in default, such death will not redeem his successor from suretyship liability, its discretion is yet problematic in view of the author and that hence brought this article to analyze and discuss on this problematic issue. This research is of an opinion that where the surety passes away before the debtor be in default, suretyship liability shall then become dissolved provided that suretyship by its nature is purely personal to the surety. Successor shall not then be liable unless such death happens to take place after debtor is in default and that, according to the law of succession, successor shall inherit both rights and duties of the deceased, including this liability of suretyship.
Table of contents
Description
บทความภาษาไทย ; บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ.
punsarn.dc.description.sponsorship
Spatial Coverage
Rights
This work is protected by copyright. Reproduction or distribution of the work in any format is prohibited without written permission of the copyright owner.
Access rights
Rights holder(s)
Location
View External Resources